วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รอบรู้กับข่าวเทคโนโลยีชีวภาพ




เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ที่จะทำให้การฉีดวัคซีนนั้นไม่เจ็บอีกต่อไป....



     ส่วนที่เลวร้ายที่สุดของการรับวัคซีนก็คือการฉีดยา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใครหรือเก่งมาจากไหนก็ตามเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ว่ามันก็ยังเจ็บและเป็นเรื่องที่น่ารำคาญอยู่ดี แต่ในตอนนี้กลุ่มนักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดสอบ “เข็มละลายได้” ที่จริงๆแล้วเป็นแผ่นปะที่ไร้ความเจ็บปวดใดๆและใช้งานง่ายเพียงแค่แปะลงไปที่แขนเท่านั้น แถมยังใช้งานได้ผลอีกด้วย
     รูปภาพด้านล่างนี่แสดงถึงเทคโนโลยีเข็มละลายได้ที่ถูกเรียกว่า MicroHyala ก่อนและหลังที่มันจะทำการส่งวัคซีนที่บรรจุไว้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งในตอนแรกนั้นเข็มทั้งหมดก็จะตั้งตรง (อย่าลืมว่าภาพนั้นได้ถูกขยายใหญ่ขึ้นอย่างมาก) และภายหลังจากการ “ฉีด” วัคซีนนั้นแผนปะนี้ก็จะเรียบสนิท ซึ่งเข็มทั้งหมดก็จะหายเมื่อมันเผชิญกับน้ำในเซลล์ผิวนั้นของเรา แถมเรายังได้รับวัคซีนโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บเลยแม้แต่นิดเดียวอีกด้วย ซึ่งทางกลุ่มนักวิจัยได้พบว่าเวลาที่พวกเขาใช้แผนปะ MicroHyala เพื่อให้วัคซีนนั้นมันได้ประสิทธิภาพเท่ากับการใช้เข็มฉีดยาด้วย


     นอกจากนั้น นี่ก็ยังไม่ใช่หนึ่งในเทคโนโลยีอันไกลโพ้นที่อาจจะมาถึงซักวันในอีกสิบปีข้างหน้าด้วยเพราะแพทย์หลายๆคนก็ได้เริ่มทำการทดสอบแผนปะวัคซีนกับคนแล้ว ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็ยอดเยี่ยมทีเดียว - แผ่นปะจะทิ้งรอยแดงไว้ประมาณ 2-3 วันแล้วจากนั้นก็จะหายไป นอกจากนั้นแล้ว มันยังสามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเข้ารับการฝึกสอนก่อนอีกด้วย โดย Shinsaku Nakagawa ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของงานวิจัยครั้งนี้จาก Osaka University ได้กล่าวไว้ว่าข้อดีดังกล่าวจะทำให้ MicroHyala นั้น “มีประสิทธิผลเป็นพิเศษในการสนับสนุนการให้วัคซีนในประเทศที่กำลังพัฒนา”
ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องจริงแล้ว แผ่นปะตัวนี้ก็ยังทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับพวกเราทุกคนที่จะต้องได้รับวัคซีนไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตามเช่นกัน นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ในอนาคตพวกเราจะสามารถรับวัคซีนโดยไม่ต้องรู้สึกเจ็บได้อีกต่อไปแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/vnews/502707

รอบรู้กับข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ




Google เปิดตัวแอพ Trusted Contacts ระบุตำแหน่ง ตรวจสอบความปลอดภัยของคนที่คุณห่วงใย


     หลังจาก Google ปิดตัว แอพพลิเคชั่น Google Latitude สำหรับอุปกรณ์ iOS ไปเมื่อปี 2013 เนื่องจากมีปัญหาในด้านการใช้งานที่ ตัวแอพพลิเคชั่นไม่สามารถ Add เพื่อน หรือแชร์โลเคชั่น (Location) และทำได้เพียงติดตามเพื่อนเก่าๆ ที่เคย Add ไปเท่านั้น
      แอพพลิเคชั่น Google Latitude - เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะติดตามตำแหน่ง (GPS) ของตนเองแบบ Real-Time เพื่อให้เพื่อนที่อยู่ในแอพฯ ทราบถึงตำแหน่งของเรา ซึ่งในขณะเดียวเราก็สามารถทราบได้เช่นกันว่าเพื่อนเราอยู่ตรงไหน 
     ล่าสุด Google ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ที่มีความสามารถคล้ายกับ Google Latitude ออกมาโดยใช้ชื่อว่า Trusted Contacts ซึ่งความสามารถของมันคือ แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้คุณ และคนรักของคุณสามารถแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ระบุตำแหน่ง พิมพ์แชทคุยกัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน อาทิ เป็นลม รถชน หลงทาง และเหตุการณ์อื่นๆ อีกมากมาย
     โดยการใช้งานคือ เพื่อน หรือคนในครอบครัว จะส่งคำขอให้คุณระบุตำแหน่ง ซึ่งคุณสามารถปฏิเสธ หรือตอบรับการแชร์ตำแหน่งก็ได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่คุณไม่ตอบรับภายใน 5 นาที แอพพลิเคชั่น Trusted Contacts จะทำการระบุตำแหน่งล่าสุดของคุณ พร้อมส่งไปให้เพื่อน หรือครอบครัว โดยอัตโนมัติ 


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://news.thaiware.com/9145.html

รอบรู้กับข่าววิทยาศาสตร์




ก้าวแรกของชาวโลก ถอดลำดับพันธุกรรม DNA” ในอวกาศ...






     เมื่อเกือบเที่ยงคืนของวันที่ 30 ต.ค.ที่เพิ่งผ่านมา มนุษย์อวกาศ 3 คนที่ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานีอวกาศนานาชาติบนวงโคจรได้กลับลงมายังพื้นโลกอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดี และมากกว่านั้นหนึ่งในสมาชิกลูกเรืออวกาศได้สร้างประวัติศาสตร์สำคัญให้แก่มนุษย์ชาติ ด้วยการถอดลำดับพันธุกรรมของดีเอ็นเอภายใต้สภาพแรงโน้มถ่วงต่ำเป็นครั้งแรก
       
       เคท รูบินส์ (Kate Rubins) คือมนุษย์หญิงผู้สร้างประวัติศาสตร์ดังกล่าว เธอเป็นมนุษย์อวกาศในสังกัดองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ปฏิบัติหน้าที่ประจำภารกิจที่ 49 บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) และเธอได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตบนอวกาศเป็นครั้งแรก
       
       นาซาระบุว่า การถอดลำดับพันธุกรรมของดีเอ็นเอภายใต้ความโน้มถ่วงต่ำนั้น เป็นการเปิดประตูสู่โลกใหม่ ทั้งในโลกของวิทยาศาสตร์และโลกทางการแพทย์ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ด้วยวิธีถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอในอวกาศนั้นจะทำให้มนุษย์สามารถวินิจฉัยความเจ็บป่วย หรือระบุได้ว่าจุลินทรีย์อะไรที่เจจริญเติบโตภายในสถานีอวกาศ และช่วยให้มนุษย์อวกาศประเมินได้ว่า จุลินทรีย์เหล่านั้นเป็นภัยต่อสุขภาพหรือไม่
       
       การถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทดลอง “ไบโอโมเลกูลซีเควนเซอร์” (Biomolecule Sequencer) นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยปกป้องมนุษย์อวกาศระหว่างปฏิบัติการท่องอวกาศที่ยาวนานในภารกิจเดินทางสู่ดาวอังคารได้ และยังช่วยให้นักสำรวจในอนาคตได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้เพื่อจำแนกสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีดีเอ็นเอได้ด้วย
       
       ดีเอ็นเอ (DNA) หรือดีออกซีไรโบนิวคลีอิคแอซิด (deoxyribonucleic acid) มี “ชุดคำสั่ง” ที่แต่ละเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบนโลกจำเป็นต้องใช้เพื่อดำรงชีวิต ชุดคำสั่งเหล่านั้นแทนด้วยอักษรตัวใหญ่ A, G, C และ T ซึ่งเป็นตัวย่อของเบสเคมีในดีเอ็นเอ คือ อะดีนีน (adenine), กวานีน (guanine) ไซโตซีน (cytosine) และไทมีน (thymine) ซึ่งทั้งจำนวนและการเรียงตัวของเบสเหล่านี้แตกต่างกันไปตามสิ่งมีชีวิตต่างๆ ดังนั้น การเรียงตัวหรือลำดับจะใช้เพื่อจำแนกสิ่งชีวิตได้อย่างเฉพาะเจาะจง
       
       “การทดลองไบโอโมเลกูลซีเควนเซอร์ทำให้เราขยับใกล้ความสามารถในการถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอในอวกาศ โดยแสดงให้ประจักษ์เป็นครั้งแรกว่า การถอดลำดับดีเอ็นในยานอวกาศที่กำลังโคจรอยู่นั้นเป็นไปได้” รายงานจากนาซาระบุ
       
       ทั้งนี้ ในโครงการไบโอโมเลกูลซีเควนเซอร์ได้ส่งตัวอย่างดีเอ็นเอของหนู ไวรัส และแบคทีเรีย สู่สถานีอวกาศ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของอุปกรณ์ถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอที่ชื่อ “มิเนียน” (MinION) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทออกซ์ฟอร์ดนาโนพอร์เทคโนโลยีส์ (Oxford Nanopore Technologies)
       
       เครื่อง “มิเนียน” นั้นทำงานโดยส่งกระแสไฟฟ้าที่เป็นบวกผ่านรูเล็กๆ ที่ฝังอยู่ในเยื่อบางๆ ภายในเครื่อง ที่เรียกว่า “นาโนพอร์” ในเวลาเดียวกันของเหลวที่มีตัวอย่างดีเอ็นเอก็ผ่านเข้าไปในเครื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งโมเลกุลดีเอ็นเอจะกั้นรูเล็กๆ และเปลี่ยนแปลงกระแสในรูปแบบที่เฉพาะต่อลำดับดีเอ็นเอนั้นๆ เมื่อนักวิจัยเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะบอกได้ว่าเป็นลำดับดีเอ็นเอของอะไร
       
       รูบินซึ่งมีความรู้ทางด้านชีววิทยาโมเลกุลได้เป็นตัวหลักในการทดลองดังกล่าวบนสถานีอวกาศ โดยมีผลลำดับพันธุกรรมของดีเอ็นเอตัวอย่างแบบเดียวกันที่ทดลองบนโลกเพื่อเทียบเคียง
       
       อารอน เบอร์ตัน (Aaron Burton) นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของนาซา บอกว่าการใช้อุปกรณ์ทดลองในสภาพแวดล้อมที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำนี้ ท้าทายทีมวิจัยในวงโคจรหลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงเรื่องฟองอากาศในของเหลวด้วย ซึ่งบนโลกนั้นฟองอากาศจะลอยขึ้นสู่ผิวของสารละลายของเหลว และใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงแยกออกได้ง่ายๆ แต่ในอวกาศนั้นไม่สามารถคาดการณ์เรื่องฟองอากาศได้



       
       “ในอวกาศ หากมีฟองอากาศเกิดขึ้น เราไม่รู้เลยว่าฟองนั้นจะมีพฤติกรรมอย่างไร ข้อกังวลใหญ่ๆ ของเราคือฟองอากาศนั้นอุดตันรูนาโนพอร์ได้” เบอร์ตันอธิบาย
       
       การสาธิตเทคโนโลยีครั้งนี้ยังเพื่อทดสอบความสมบูรณ์ว่า อุปกรณ์ทดลองนั้นแข็งแกร่งพอที่จะทนต่อการสั่นสะเทือนระหว่างปล่อยไปพร้อมจรวด และยังสามารถใช้งานได้อย่างวางใจในสภาพความโน้มถ่วงต่ำ เมื่อทำการวัดการเปลี่ยนแปลงกระแสหรือทำการแปลงการเปลี่ยนแปลงนั้นให้กลายเป็นลำดับดีเอ็นเอ นอกจากนี้นักวิจัยยังพิจารณาด้วยว่ามีปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือในวงโคจร
       
       เพื่อลดตัวแปรที่ไม่รู้ทีมวิจัยจึงทดสอบกระบวนการถอดลำดับพันธุกรรมทั้งหมดภายในห้องปฏิบัติการใต้น้ำที่มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “นีโม” (NEEMO) ซึ่งย่อมาจากชื่อห้องปฏิบัติการสำหรับภารกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่สุดหฤโหดของนาซา ที่อยู่ใน “อควาเรียสเบส” (Aquarius Base) ฐานปฏิบัติการใต้น้ำลึก 60 ฟุตบริเวณชายฝั่งฟลอริดา
       
       การทดลองภายในห้องปฏิบัติการนีโมนั้นเป็นอย่างราบลื่นและเป็นไปตามที่ตั้งใจ โดยทีมวิจัยได้พิจารณาตัวแปรหลายๆ อย่างภายในห้องปฏิบัติการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมสุดหฤโหด มีความชื้น อุณหภูมิและความดันที่ต่างไปจากปกติ
       
       นักประดาน้ำของห้องปฏิบัติการนีโมได้เก็บตัวอย่างจากถิ่นอาศัย สกัดและเตรียมดีเอ็นเอเพื่อถอดลำดับพันธุกรรม รวมถึงถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในโครงการ “ไบโอโมเลกูลซีเควนเซอร์” และการทดสอบกระบวนการต่างๆ ใต้น้ำนี้คือส่วนสำคัญเพื่อนำไปใช้บนสถานีอวกาศ
       
       จากการเปรียบเทียบผลการถอดลำดับพันธุกรรมที่ได้จากการทดลองในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำ และผลจากการทดลองบนโลก พบว่าทุกอย่างดูสอดคล้องกัน ซึ่งทดสอบขั้นต่อไปคือการทำทุกกระบวนการภายในอวกาศ ซึ่งรวมถึงการเตรียมตัวอย่างและการถอดลำดับพันธุกรรมในอวกาศด้วย หลังจากนั้นมนุษย์อวกาศสามารถถอดลำดับพันธุกรรมของดีเอ็นเอที่รู้จัก ซึ่งได้รับสกัด เตรียมตัวอย่างและถอดลำดับพันธุกรรม เพื่อแยกแยะจุลินทรีย์ที่ไม่รู้จักในวงโคจรได้
       
       ซาราห์ คาสโตร-วอลเลซ (Sarah Castro-Wallace) นักจุลชีววิทยาของนาซาและเป็นผู้จัดการโครงการถอดลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอในอวกาศ ระบุว่าการถอดลำดับพันธุกรรมบนสถานีอวกาศนี้ช่วยให้ลูกเรือทราบถึงสภาพแวดล้อมที่ตัวเองอาศัยอยู่ และช่วยให้ทีมบนโลกประเมินได้ว่าจะถึงเวลาทำความสะอาดสถานีอวกาศเมื่อไร หรือจำเป็นไหมที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
       
       แม้ว่าทีมสนับสนุนบนโลกจะสามารถส่งยาต้านการเชื้อหรือยาปฏิชีวนะขึ้นไปให้ลูกเรือในวงโคจรได้ทันที แต่คาสโตร-วอลเลซบอกว่าพวกเขาก็จำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อไรจะเก็บทรัพยากรที่มีค่านี้ไว้ หรือเมื่อไรควรจะใช้
       
       รูบินส์กลับสู่พื้นโลกที่คาซัคสถานเมื่อเวลา 22.58 น.ของคืนที่ 30 ต.ค.2016 ที่ผ่านมาตามเวลาประเทศไทย ด้วยแคปซูลโซยุซของรัสเซีย พร้อมกับ อนาโตลี อิวานิชิน (Anatoly Ivanishin) มนุษย์อวกาศรัสเซียจากองค์การองค์การอวกาศรัสเซีย “รอสคอสมอส” (Roscosmos) และ ทากูยะ โอนิชิ (Takuya Onishi) จากองค์การสำรวจการบินอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency)
       
       รูบินส์และโอนิชิใช้เวลาอยู่ในวงโคจรนาน 115 วัน ระหว่างภารกิจในอวกาศครั้งแรกในฐานะลูกเรือในภารกิจประจำสถานีอวกาศเที่ยวที่ 49 ส่วนอิวานิชินปฏิบัติภารกิจในอวกาศ 2 เที่ยวบินแล้ว รวมเวลาทั้งหมด 280 วัน ระหว่างปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวงโคจรในฐานะลูกเรือของเที่ยวบินเดียวกัน พวกเขาได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์นับร้อยโครงการ ทั้งทางด้านชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ และด้านวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth science)
       
       นอกจากการทดลองวิทยาศาสตร์และการนำทดลองถอดลำดับพันธุกรรมครั้งแรกแล้ว รูบินส์ยังเดินอวกาศ (spacewalks) ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 19 ส.ค. เธอและเจฟฟ์ วิลเลียมส์ (Jeff Williams) ได้ติดตั้งอะแดปเตอร์เชื่อมต่อสถานีตัวแรก ซึ่งทั้งเซนเซอร์และระบบของอะแดปเตอร์ทำให้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อสถานีสำหรับยานอวกาศที่จะนำมนุษย์อวกาศเข้าสู่สถานีได้ในอนาคต
       
       คาดว่าผู้ที่จะได้ใช้งานอะแดปเตอร์เชื่อมต่อรายแรกๆ คือยานสตาร์ไลเนอร์ (Starliner) ของโบอิง (Boeing) และยานขนส่งลูกเรือดรากอน (Dragon) ของสเปซเอกซ์ (SpaceX) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีความร่วมมือกับนาซาในการพัฒนาระบบขนส่งลูกเรือเชิงพาณิชย์
       ส่วนการเดินอวกาศครั้งที่ 2 ของรูบินส์คือเมื่อวันที่ 1 ก.ย. เธอและวิลเลียมส์ ได้ปลดตัวแผ่รังสีควบคุมความร้อน และติดตั้งกล้องความละเอียดสูงตัวใหม่อีก 2 ตัว
       
       ตอนนี้ลูกเรือประจำเที่ยวบิน 50 คือ เชน คิมบรอก (Shane Kimbrough) จากนาซารับหน้าที่รักษาการผู้บังคับการบนสถานีอวกาศ พร้อมด้วย เซอร์กี ริซีกอฟ (Sergey Ryzhikov) และ แอนเดรย์ บอริเซโก (Andrey Borisenko) จากองค์การอวกาศรัสเซียรอสคอสมอส ทำหน้าที่บนสถานีอวกาศอีก 3 สัปดาห์ ระหว่างรอลูกเรือชุดใหม่ซึ่งจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 พ.ย.นี้จากฐานปล่อยจรวดในไบโคนัวร์ คาซัคสถาน 







ขอบคุณข้อมูลจาก ;  http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000109236

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559



ซีรี่ส์ความรู้ ชุด เรื่องของเวลา (ตอนจบ)
ตอนที่ 2 : มหัศจรรย์แห่งเส้นแบ่งเขตเวลา 





หมู่เกาะดีโอเมดี้ (Diomede Islands)


บริเวณช่องแคบแบริ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างไซบีเรียของรัสเซียและอลาสก้าของสหรัฐ 
จะมีอยู่สองเกาะที่เป็นประเด็น

เกาะที่ใหญ่กว่ามีพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร เรียกว่า Big Diomede เป็นของรัสเซีย ส่วนเกาะที่เล็กกว่าชื่อ Little Diomede เป็นของสหรัฐ ฝั่งของสหรัฐมีคนอยู่ประมาณ 170 คน ส่วนฝั่งรัสเซียมีแต่กองทหารตั้งอยู่

ดินแดนทั้งสองนี้ห่างกันอยู่ 4 กิโลเมตร แต่ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอยู่ตรงที่โซนเวลา เนื่องจากเป็น

จุดที่เส้นแบ่งเขตวันสากล (International Date Line) ตัดผ่าน





Little Diomede จึงได้ชื่อว่าเป็น Yesterday Isle หรือเกาะแห่งเมื่อวาน เพราะตั้งอยู่ในโซนเวลาสุดท้ายของวัน จะมาเริ่มวันใหม่จริง ๆ ที่อีกเกาะ

ทั้งสองเกาะนี้มีเวลาต่างกัน 20 กว่าชั่วโมง เช่น ถ้าฝั่งสหรัฐเป็นเวลา 9 โมงเช้าของวันเสาร์ รัสเซีย
จะเป็น 6 โมงเช้าของวันอาทิตย์

"ว่ากันว่า คนฝั่งสหรัฐจะมองเห็นวันพรุ่งนี้ได้เพียงแค่มองข้ามไปที่ฝั่งรัสเซีย ส่วนฝั่งรัสเซีย

จะมองเห็นวันเมื่อวานได้เพียงแค่มองกลับมาที่ฝั่งสหรัฐเท่านั้น..."
                      



          ....จบลงไปแล้วค่ะกับซีรี่ส์ชุดนี้ จำไว้นะคะทุกวินาทีมีค่า โปรดใช้เวลาให้คุ้มค่ะ....






Credit : รายการ จับกระแสแลโลก
Credit : Popiiyozee
สวัสดีค่ะ พบกับซีรี่ส์ความรู้กันอีกครั้งนะคะ แต่จะเป็นในส่วนของ ซีรี่ส์ความรู้ ชุด เรื่องของเวลา

ซีรี่ส์ความรู้ ชุด เรื่องของเวลา
ตอนที่ 1 : การเดินทางข้ามเวลา





การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องเคลื่อนไหวระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับ
จุดหมายปลายทาง




ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในนิยายหรือสมมุติฐานก็ตาม

แม้การเดินทางข้ามเวลาได้เป็นหัวเรื่องยอดนิยมในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ (science fiction)

 มาแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีทฤษฎีมากหลายว่าด้วยวิธีเดินทางข้ามเวลา

ทว่า บัดนี้ ตามกฎแห่งฟิสิกส์แล้วยังไม่ปรากฏว่ามีหนทางช่วยย้อนอดีตหรือลัดสู่อนาคตแต่ประการใ










Credit : th.wikipedia.org
รู้หรือไม่ ประเทศไหนใหญ่ที่สุด ????? 

ประเทศที่ใหญ่ที่สุด   คือ ประเทศรัสเซีย เรามีทั้งเนื้อหาและคลิปมาให้ดูนะคะ








       รัสเซีย (รัสเซีย: Россия, อ่านว่า ราซียา)

มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Российская Федерация, อ่านว่า ราซีย์สกายาฟิดิรัตซียา)

เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 17,080,000 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ คิดเป็น 1 ใน 8 ของแผ่นดินโลก

รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน 

(ปีพ.ศ. 2553)

รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 21 สาธารณรัฐ

 49 แคว้น 10 เขตปกครองตนเอง 1 แคว้น มีมอสโกวและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นนครสหพันธ์
 รวมทั้งหมดเป็น 83 เขตการปกครอง

รัสเซียมีพรมแดนไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ 

เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสก์ 
และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง

อาณาเขตของรัสเซียกินพื้นที่เอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้าม 9 เขตเวลาและ

มีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย

รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณ 1 ใน 4 ของโลก

มอสโกวเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุด ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการทั่วประเทศ และมี

ภาษาทางการร่วมอีก 27 ภาษาในภูมิภาคต่าง ๆ รัสเซียใช้สกุลเงิน รูเบิล













Credit : th.wikipedia.org
หนังสือ ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในรัสเซีย







เราใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ จะมีใครไหมที่ยังสงสัยว่าโลกเกิดขึ้นได้ยังไง????
เรามาเรียนรู้กันเลยนะคะ ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นเกิดมาได้ไง

กำเนิดโลก




        นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ได้ศึกษากำเนิดของโลก  ซึ่งเป็นดาวเคราะห์โดยได้
เสนอทฤษฏีต่างๆ  หลายทฤษฎีแต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า  กำเนิดโลกและระบบสุริยะเป็นไปตามทฤษฏีใด
 1...ทฤษฎีเนบูลา  (nebular hypothesis)  อธิบายว่าสารที่เป็นต้นกำเนิดของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์เป็นกลุ่มของเนบูลาซึ่งประกอบด้วยแก๊สและฝุ่นในท้องฟ้า ต่อมากลุ่มเนบูลาเหล่านี้ได้หดตัวและเกิดการหมุนขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก และทวีความเร็วขึ้นในระยะหลังทำให้เกิดจุดศูนย์กลางและมีวงแหวนหมุนรอบจุดศูนย์กลางได้มวลสารรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงจุดศูนย์กลาง การหดตัวเนื่องจากแรงดึงดูดนี้ทำให้เกิดความร้อนขึ้น กลุ่มแก๊สแต่ละกลุ่ม แต่ละวงแหวนได้ก่อกำเนิดเป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ กรณีนี้โลกอายุเท่ากับดวงอาทิตย์การกำเนิดโลกตามทฤษฎีเนบูลา (nebular hypothesis)


                                          
2...ทฤษฎีโปรโตแพลเนต   (protoplanet))  อธิบายว่าในอวกาศมีกลุ่มหมอก ฝุ่นละออง และแก๊ส ลอยอยู่ซึ่งต่อมาเกิดการหดตัวด้วยแรงดึงดูดของมวลของตัวเอง เกิดการรวมตัวกันเข้าสู่ศูนย์กลางหลายจุดซึ่งเป็นอิสระต่อกัน แต่ในที่สุดจุดศูนย์กลางเหล่านั้นถูกบีบอัดเข้าด้วยกันจนกลายเป็นดวงอาทิตย์ และมีสสารแยกตัวออกเป็นแผ่นบางๆ เหมือนจานลอยอยู่โดยรอบดวงอาทิตย์ แรงเสียดทานภายในจานดังกล่าวทำให้เกิดการไหลคล้ายกระแสน้ำวนในจาน   ทำให้จานแตกแยกตัวออกเป็นมวลที่อัดแน่น เรียกว่าโปรโตแพลเนต (protoplanet) หลายๆ ชิ้น  ซึ่
งในที่สุดกลายเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ รวมทั้งโลกด้วย สำหรับส่วนที่หลุดออกไปนอกวงโคจรจะกลายเป็น ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์น้อย





 3...ทฤษฎีพลาเนตติซิมัล (planetesimal hypothesis) อธิบายว่าโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์ 
โดยเกิดจากการโคจรผ่านเข้ามาของดาวขนาดใหญ่มากดวงหนึ่ง แรงดึงดูดของดาวดวงนี้ได้
ดึงเอาส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์แยกออกไปเกิดเป็นดาว เคราะห์ต่างๆ ขึ้น กรณีนี้โลกของเรามีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์
















ข้อเสนอแนะ
ผู้ศึกษาควรศึกษาต่อในหนังสือ ธรณีวิทยา